Q-Business  (Business Model)  เป็นระบบคิวขนาดกลางที่เหมาะสำหรับสถานีที่มีบริการรองรับหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีตัวเลือก (Option) เพิ่มขึ้น สำหรับลูกค้าที่ต้องการใช้ feature การประเมินผลความพึงพอใจการรับบริการ Business Concept เรื่องการแก้ปัญหาเรื่อง Queue โดยการทําของเล่นให้คนถือแล้วพอถึงคิวก็จะมีเสียงร้องดังปิ๊ปๆ ให้เดินกลับมาแล้ว แต่ที่แปลกใหม่ของ Queue คือ สามารถจองจากที่ไหนก็ได้แล้วให้มาในเวลาที่กําหนด ซึ่งเกิดจุดนี้ได้คงต้องไปคุยกับร้านอาหารไว้แล้วล่ะ ว่าเวลาขั้นตํ่าคือกี่นาทีด้วย ช่วยลดเวลาในการทำงานของร้านอาหารที่ต้องมาจัดการเรื่องคิวเอง ต่อไปก็เพียงแค่ใช้แอพพิเคชั่นตรวจสอบดู

Q-Business

ตัวต่อมาคือ เรื่องของ Report สิ่งที่ผู้บริหารหลายๆท่านชอบมากคือเรื่องของ Report เพราะมันเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า จะปรับลดส่วนไหน หรือ พัฒนาตรงจุดไหนยังไง   ส่วนสุดท้ายคือเรื่องของการทําแอพพิเคชั่นลงบนไอแพด หรือ ตู้ Kiosk แล้วให้ร้านอาหารใช้โดยที่ร้านอาหารไม่ต้องลงทุนอะไร เพื่อควบคุมจัดการคิวได้อย่างง่ายดาย ซึ่งต้นทุนพวกนี้ก็คงไปหักลบจากค่าบริการที่ร้านอาหารต้องจ่ายต่อเดือนนั้นเอง ซึ่งส่วนนี้ Queue ก็นําเสนอได้ดี ได้ถูกจุดให้แก่ร้านอาหารต่าง ๆ ที่ต้องการดูผลเข้ามาใช้บริการของร้านอาหาร เพื่อที่จะปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นไปอีก

Q-Business

จากการสังเกตุ Business Model ของ Queque

  • VP คือ การแก้ปัญหาเรื่องการจัดการระบบคิวที่วุ่นวายของร้านอาหาร ทําให้สามารถจัดการได้ง่าย และ เพิ่มยอดขายของร้านอาหารโดยการจองผ่านมือถือได้ในทันที
  • CS คือ กลุ่มร้านอาหารตามห้างสรรพสินค้าที่ต้องใช้ระบบการจอง เช่น Shabushi , Sukishi , Pizza, MK เป็นต้น
  • RS คือ ได้จากการคิดค่าบริการรายเดือนจากร้านอาหาร
  • KA คือ การพัฒนาซอฟแวร์ การหาพาร์ทเนอร์ใหม่ๆ  การซ่อมแซมและรับเรื่องร้องเรียนที่เกิดจากการใช้งาน และ การตลาดเพื่อโปรโมทตัวเอง
  • KR คือ นักพัฒนาซอฟแวร์ นักขาย นักการตลาด และ อุปกรณ์ต่างๆเช่น Tablet และ ตู้กดบัตรคิว
  • KP คือ ผู้ให้บริการระบบ Server, บริษัท Hardware ประกอบตู้, บริษัทขาย Tablet
  • CS คือ ค่าจ้างนักพัฒานาซอฟแวร์, การตลาด และ พนักงานขาย , ค่าประกอบตู้
  • CR คือ เก็บข้อมูลการใช้บริการของร้านอาหารที่มีปัญหาและตอบกลับบริการอย่างรวดเร็วทํา CRM ให้กับบริษัทต่างๆ เมื่อมีปัญหา เพราะต้องการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วเพื่อประโยชน์ของร้านค้านั้นๆ
  • CH คือ น่าจะเป็นลักษณะของ B2B ไม่ได้มีการโปรโมทให้กับคนภายนอกหรือตลาดกว้างๆ

Q-Business

ดูจากลักษณะของไอเดียของบริษัทแล้ว น่าจะไปได้อีกไกล เพียงแต่มีจุดที่ต้องระวังก็คือ

เรื่องของการให้บริการเมื่อมีปัญหา เพราะลักษณะของธุรกิจบริการเลยต้องแก้ปัญหาให้เร็วให้ทันท่วงที ไม่ชักช้าเป็นวัน เช่น สมมุติถ้าตู้กดบัตรคิวแบบใหม่มีปัญหา เราควรจะมีตู้สํารองเพื่อสลับเปลี่ยนให้ลูกค้าใชได้ทันทีไม่ต้องรอเป็นวัน การลดต้นทุนของร้านอาหาร โดยการเลือกที่จะพัฒนาระบบของตัวเอง ทําตู้กดบัตรเอง ทําแอพเอง ซึ่งโดยปกติแล้วผู้บริหารส่วนใหญ่จะเลือกทําเองถ้ามีพลังที่จะทํา เพราะเชื่อเรื่องการตัดต้นทุน